วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ประวัติและความเป็นมาของพระพุทธศาสนา



              หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานที่เมืองกุสินาราแล้ว ได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัย จัดไว้เป็นหมวดหมู่จนกระทั่งสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชพระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งและได้มีการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นครั้งที่ 3 ในสมัยของพระองค์หลังจากทำสังคายนาแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงจัดส่งสมณทูต จำนวน 9 สาย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆทำให้พระพุทธศาสนาขยายไปทั่วและเจริญรุ่งเรืองเท่าทุกวันนี้สำหรับดินแดน อ่านเพิ่ม
บทที่ 2 พุทธประวัติและชาดก


              พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า “สิทธัตถะ” เป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา”  ประสูติ ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล) พราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้นยืนยันว่าจะได้ออกบวชและตรัสรู้

บทที่ 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี


              วันมาฆบูชา คือ การบูชาในเดือนมาฆะ คือ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นคือการประชุมสงฆ์โดยมิได้นัดหมายกันที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ประกอบด้วยองค์ 4 คือ 
1. เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ 
2. พระภิกษุ1,250 องค์ มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย 
3. ภิกษุเหล่านั้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ 
4. ได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้า เป็นเอหิภิกขุทั้งสิ้น

          ในวันนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม คือแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วางหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธองค์ไว้ 3 ประการ คือ 1. ไม่ทำความชั่ว 2. การทำบุญกุศลให้ถึงพร้อม และ 3. การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว อ่านเพิ่ม

บทที่ 4 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา



อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา
    เพราะเป็นคำสอนที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจากความทุกข์เพื่อสู่นิพพาน ได้แก่
    1. ทุกข์ หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากทั้งร่างกายและจิตใจ
    1.1 สภาวทุกข์ หรือ ทุกข์ประจำ ได้แก่ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
    1.2 ปกิณกทุกข์ หรือทุกข์จร เป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไปและเกิดขึ้นเนืองๆ เช่น ความเศร้าโศก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ

บทที่ 5 พระไตรปิฎกและพุทธศาสนสุภาษิต



              พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า
              ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง

บทที่ 6 การบริหารจิตและเจริญปัญญา


การสวดมนต์แปลและ แผ่เมตตา
การไหว้พระสวดมนต์เป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตน ตรัยที่เราต้องปฏิบัติให้พร้อมทั้งทางกาย วาจา และใจ เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา ผู้ที่ปฏิบัติเป็นประจำจะเกิดสติสัมปชัญญะ มีจิตเป็นสมาธิ ประณีตและมีคุณธรรม ทำให้ความเห็นถูกต้องตามหลักของพระพุทธศาสนา
          ในขณะที่สวดมนต์ถือเป็นการ บริหารจิตและเจริญปัญญาเบื้องต้น จะทำให้มีสติและสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันเสมอ การไหว้พระสวดมนต์ โดยมากนิยมทำในตอนเช้าและก่อนนอน หรือทำก่อนที่เราจะฝึกสมาธิซึ่งจะช่วยให้ผู้ฝึกจิตสงบ มีสมาธิ และระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อ่านเพิ่ม

        บทที่ 7 พุทธสาวก พุทธสาวิกา และศาสนิกชนตัวอย่าง



1. ประวัติพระสารีบุตร
           พระสารีบุตร เดิมชื่อ อุปติสสะ เป็นบุตรของวังคันตพราหมณ์ มารดาชื่อสารี บิดาเป็นนายบ้าน อุปติสสคาม ใกล้เมืองราชคฤห์ บิดามารดามีฐานะร่ำรวย เหตุที่ท่านได้ชื่อว่า สารีบุตร เนื่องจากเมื่อท่านบวชแล้วเพื่อนพระภิกษุด้วยกันมักเรียกท่านว่า สารีบุตร แปลว่า บุตรนางสารีตามชื่อมารดาของท่านอุปติสสะมีสหายคนหนึ่งชื่อว่า โกลิตะ เป็นบุตรของนายบ้านโกลิตคามซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนัก ทั้งสองเป็นเพื่อนสนิทกัน เที่ยวด้วยกันและศึกษาศิลปวิทยาร่วมกัน วันหนึ่งทั้งสองได้ไปเที่ยวชมมหรสพในเมืองเห็นความไร้สาระของมหารสพเกิดความเบื่อหน่ายในการเสพสุขสำราญจึงปรึกษากันแล้วชวนกันพร้อมกับบริวารบวชเป็นปริพพาชกอยู่ในสำนักสัญชัย เวลัฏฐบุตร เพื่อศึกษาธรรมแต่ยังมิได้บรรลุธรรมพิเศษเป็นที่สุดที่พอใจ จึงนัดหมายกันว่าผู้ใดได้บรรลุธรรมพิเศษก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่ผู้อื่น อ่านเพิ่ม